วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555


วิชาโลกศึกษา

                                            โลกศึกษา (Global Education)

“โลกศึกษา” (Global Education)  หรือมีบัญญัติว่า โลกาภิวัตน์ศึกษา เป็น

แนวคิดทางการศึกษาซึ่งพัฒนามาจากข้อเท็จจริงที่ว่ามนุษย์ปัจจุบันมีความเป็นอยู่
แนวคิดหลักของโลกศึกษา
จุดเน้นของโลกศึกษา  คือ ความเป็นธรรมในสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง
จะไม่มุ่งเน้นการสอนเนื้อหาใหม่ ๆ แต่เน้นการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดรวบยอด
และเนื้อหาสาระของสาขาวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการ
 พัฒนาในมิติที่ขยายวงกว้างระดับโลก ดังนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการโลกาภิวัฒน์และการพัฒนาสังคมโลก 
2. ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาและปรัชญาความคิด
ของมนุษยชาติ
3. ความรู้เกี่ยวกับความเป็นสังคมชุมชนและความแตกต่าง
วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาโลกศึกษา
         
 การจัดการเรียนรู้โลกศึกษา

คุณลักษณะของพลโลก
1. แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์  วิสัยทัศน์สร้างสรรค์ และ
   มีวิสัยทัศน์
3. การแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความสามารถสร้างและสรุปองค์ความรู้ได้อย่างเป็นระบบ
5. มีการเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่น
6. มีค่านิยมพื้นฐานและคุณธรรมจริยธรรม
7. สามารถสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาและเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
8. เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
9. มีความสามารถในการคิด ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

ผลการเรียนรู้
1.             แสวงหาความรู้ ทักษะ สร้างความรู้ความเข้าใจแนวคิดและความจำเป็นของการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
การเรียนรู้  
 2.  รู้และเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง ผลกระทบของการพัฒนาและเหตุผลความจำเป็นของการแก้ปัญหา     
 3.  เข้าใจความถูกต้องทางสังคม และเห็นคุณค่าของการมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน    
 4.  เข้าใจและเห็นคุณค่า มีเจตคติต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน  
 5.  รู้และเข้าใจความจำเป็นในการรักษาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยไม่ทำลายโลก
 6.  เห็นความสำคัญและให้คุณค่าของสิทธิมนุษยชนในทุกระดับ
 7.  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระดับ
     ชุมชนโลก
 8.  เข้าใจและยอมรับความแตกต่างและความสัมพันธ์ของมนุษยชาติ    









ความเป็นพลเมืองโลก


 ความเป็นพลเมืองโลก

การศึกษาช่วยพัฒนาประชาคมสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ได้อย่างไร
การจัดการเรียนเรียนรู้วิชาพลโลก 
                        หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551  ได้กล่าวถึง การสร้างนักเรียนให้เป็นพลโลก  หรือพลเมืองโลก (Global Citizen)  ไว้ในวิสัยทัศน์ของหลักสูตร  ดังนี้  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน  ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทย และเป็นพลโลก  ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีความรู้และทักษะพื้นฐาน  รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า  ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
ทำไม ทำอย่างไร จึงจะนำนักเรียน สู่ความเป็นพลโลก
                         เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 255   ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต (Curriculum Development for Future Global Citizens Conference)  ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ British Council  จัดขึ้นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้ ให้หลักการ แนวคิด ไว้ที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งพอสรุปได้  ดังนี้
จอห์น   แมคโดนัลด์  ผู้อำนวยการองค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์
-          หลัก สูตรจะต้องสร้างให้เด็กรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการสื่อสารระดับสากลโดยมี ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางพร้อมที่จะเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับในศาสนา วัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นพัฒนาสังคมส่วนรวมในวงกว้างระดับนานาชาติโดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตน แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของประเทศและของตนไว้ 
-          หลักสูตรจะต้องช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีหาความรู้   มีความรู้ทั้งวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต   รู้จักตนเองและให้เกียรติผู้อื่น  เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ทำงานเป็นทีมและมีคุณธรรม     
มิสโมอิรา     แมคเคอราเชอร์     ผอ.ฝ่ายการศึกษk ระหว่างประเทศ องค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์   
-          การสร้างเด็กให้มีคุณภาพจะต้องพัฒนาครูให้มีความเป็นเลิศในวิชาที่สอน  รู้จักออกแบบการเรียนการสอน และประเมินวัดผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็ก
ดร.ซูฮ์   สวีนี     ผู้จัดการฝ่ายหลักสูตรการศึกษาวิทยาลัยอายร์  สก๊อตแลนด์
-          การสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองที่ดีของโลกนั้นครูมีบทบาทสำคัญที่สุดรวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบอาชีพด้านต่างๆเช่น นักวิทยาศาสตร์มาช่วยครูให้ความรู้เด็ก
รศ.สุชาดา   นิมมานนิตย์     กรรมการบริหารสถาบันภาษา                   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
-          เด็กไทยยังมีจุดอ่อนด้านคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ และไม่แบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆ  ซึ่งครูต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและพัฒนาเด็ก
คุณหญิงกษมา  วรวรรณ    อยุธยา   เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-          เนื้อหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี2551 นั้นสามารถพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกได้อย่างดี   เร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)จะลงนามความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆเช่น กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อให้ช่วยนำความรู้ที่ไม่มีในตำราเรียนทั้ง  8 กลุ่มสาระมาลงในเวบไซต์ สพฐ.  เพื่อให้ความรู้แก่ครูและเด็กจะเริ่มเปิดให้บริการในเดือนพ.ค.นี้
 ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิด  
                  - กระทรวงศึกษาธิการนับเป็นหน่วยงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ทำให้ประชาชนมีความพร้อมที่จะทำประโยชน์ของตนและของโลก โดยมุ่งเน้นบุคลากรบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล มีความรับผิดชอบ ด้วยเล็งเห็นถึงคุณภาพเหล่านี้ต่อพลเมืองโลกในอนาคต 
                 - การ พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาพลเมืองโลกจะส่งเสริมให้มีการประสานงานให้เกิด ความเท่าเทียมกันและเกิดการเรียนการสอนที่เหมาะสมทั้งวิทยาศาสตร์และภาษา อังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการจะได้จัดหาโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต

                    การประชุมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างพลเมืองโลกในอนาคตจัดขึ้นเพื่อสร้างทักษะความจำเป็นในการเป็นพลเมืองโลก โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพลเมืองโลก โดยได้เชิญวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศมาบรรยายให้ความรู้ ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา Inter – Faith โดยเชื่อมโยงแนวความคิดเรื่องโอกาสที่เท่าเทียมกัน 

           สรุป   นักการศึกษาเสนอแนะให้พัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกโดยการพัฒนาหลัก สูตรปลูกฝังให้เยาชนมีความรู้วิชาการ-วิชาชีพ ทักษะชีวิต  มีคุณธรรมและยึดประโยชน์ส่วนรวมในระดับสากล  
สร้างความคิดรวบยอด (Concept) เรื่องพลเมืองโลก ผ่านหลักสูตรสถานศึกษาโดย  บูรณาการกับวัตถุประสงค์ และกิจกรรม CCAD  ดังนี้
-          พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา
ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่
-          สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น
การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติ อื่นๆ
-          พลโลกจะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกัน
-          โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก

 โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติอื่นๆ เช่น  CCADพลโลก จะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกันพลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา  ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่

การพัฒนาอย่างยั่งยืน



 แนวทางการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การนำทรัพยากรในธรรมชาติมาประกอบอาชีพ
    แนวคิดในการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นผลสืบมาจากการเกิดสภาวะความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคนเราเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้
   ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 
     - การ พัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่มีรากฐานมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง
     - การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  หมาย ถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง
 แนวทางในการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    - ประชาชนและภาครัฐต้องช่วยกันควบคุมปล่อยของเสียที่สร้างขึ้นให้ออกสู่ธรรมชาติน้อยลง
    - ประชาชนและภาครัฐต้องรู้จักวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
    - ประชาชนทุกคนต้องเกิดจิตสำนึกร่วมกัน  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากร
ธรรมชาติให้เหมาะสม
    - ภาครัฐควรวางมาตรการการประจายรายได้ออกไปสู่ภาคประชาชนในทุกกลุ่มทุกอาชีพ
เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
    - ภาครัฐควรวางมาตรการในการควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร
                   นโยบายและวิธีการจัดการด้านทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลไทย
รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มีนโยบายให้จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ  มาจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก  และจัดวางแผนส่งเสริมชลประทาน
รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช มีนโยบายเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็กส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์จนสามารถเป็นสินค้าออก  และ ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของส่วนรวมรัฐจะอนุรักษ์และพัฒนา ป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความสมบูรณ์เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร รัฐบาลพลเอกสุจินดา  คราประยูร มีนโยบายในการที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน  ป่าไม้  และ ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆและให้ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรฯ ให้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้จะกวดขันให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพยากรฯอย่าง เข้มงวดโดยใช้ภาพจากดาวเทียมในการควบคุม รัฐบาลนายชวน  หลีกภัย มีนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์เพื่อกระจายสิทธิ์การถือครองที่ดินให้แด่เกษตรกรผู้ยากไร้ เพื่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร มีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  เกิดความสมดุลในการพัฒนา
   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับรูปแบบและแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 
     - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) เป็น แผนพัฒนาฯที่เน้นพัฒนาประเทศให้ก้าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและ สังคมที่สะสมมาจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ผ่านมาเน้นการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างมี คุณภาพ  และเน้นเศรษฐกิจ  การเมืองสังคม ให้มีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)  เป็น แผนพัฒนาฯที่มุ่งให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณคุณภาพและความ เป็นธรรมในสังคมเน้นการกระจายรายได้และความรู้ไปสู่ภูมิภาค  เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คุณภาพชีวิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)  เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
และแท้จริง  โดยกำหนดการพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์หลัก  และในส่วนของการจัดการทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อม  มีการวางแผนจัดการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และเกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศวิทยาและให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)  เป็น แผนพัฒนาที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ  เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลมีคุณภาพ

ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้


ค่านิยมในสังคมโลก

ค่านิยม
                ความหมายของค่านิยมมีผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
                ค่านิยม มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “Value” และมาจากคำสองคำคือ ค่า” “นิยมเมื่อคำสองคำรวมกันแปลว่า การกำหนดคุณค่า คุณ ค่าที่เราต้องการทำให้เกิดคุณค่า คุณค่าดังกล่าวนี้มีทั้งคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม ซึ่งคุณค่าแท้เป็นคุณค่าที่สนองความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนคุณค่าเทียม หมายถึงคุณค่าที่สนองความต้องการอยากเสพสิ่งเปรนเปรอชั่วคู่ชั่วยาม
                ค่า นิยม หมายถึง ทัศนะของคนหรือสังคมที่มีต่อสิ่งของ ความคิด และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนา คุณค่าและความถูกต้องของสังคมนั้นๆ เช่น ชาวอเมริกันถือว่า “ประชาธิปไตยมี ค่าสูงสุดควรแก่การนิยมควรรักษาไว้ด้วยชีวิต อเมริกันรักอิสระ เสรีภาพ และความก้าวหน้าในการงานเป็นต้น ส่วนค่านิยมของคนไทยหรือคนตะวันออกโดยทั่วไปนั้นแตกต่างจากค่านิยมใน อเมริกันหรือคนตะวันตก เช่น คนไทยถือว่าความสงบสุขทางจิตใจและการทำบุญให้ทานเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา การเคารพเชื่อฟังบิดามารดาและการกตัญญูรู้คุณเป็นสิ่งที่ควรยกย่อง
                ค่า นิยม หมายถึง สิ่งที่บุคคลพอใจหรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อ หรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ค่านิยมจะสิงอยู่ในตัวบุคคลในรูปของความเชื่อตลอดไป จนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ ซึ่งตนพอใจกว่าก็จะยอมรับไว้ เมื่อบุคคลประสบกับ การเลือกหรือเผชิญกับเหตุการณ์ ละต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าจะนำค่านิยมมาประกอบการตัดสินใจทุก ครั้งไป ค่านิยมจึงเป็นเสมือนพื้นฐานแห่งการประพฤติ ปฏิบัติของบุคคลโดยตรง
                “ค่านิยมคือ ความคิด (Idea) ใน สิ่งที่ควรจะเป็นหรือสิ่งที่ถูกต้องพึงปฏิบัติมีความสำคัญ และคนสนใจ เป็นสิ่งที่คนปรารถนาจะได้ หรืจะเป็นและมีความสุขที่จะได้เป็นเจ้าของ
                “ค่านิยมหมาย ถึง ความเชื่อว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่น เราเชื่อว่าการขโมยทรัพย์ของผู้อื่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่ดี ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ดี
                ค่านิยม หมายถึง ระบบความชอบพิเศษเพราะสิ่งที่เราชอบมาก เราจะให้คุณค่ามากกว่าสิ่งที่เราไม่ชอบ ค่านิยมอาจแบ่งเป็น  ประเภท ได้แก่
                ๑. ค่านิยมเฉพาะตัว (Individual Value)
                ๒. ค่านิยมสังคม (Social Value)
                ค่านิยมทางสังคม เป็นระบบความชอบพิเศษที่คนในแต่ละสังคมมีอยู่ ค่านิยมประเภทนี้เกิดจากการเรียนรู้จากสังคมในระดับต่าง ๆ ซึ่ง จะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม เช่น นาย ก ชอบสิ่งใดมากก็จะทำสิ่งนั้นมากเป็นต้น ดังนั้นการสังเกตค่านิยม ของสังคมอาจพิจารณาได้จากพฤติกรรมเด่น ๆ ของสมาชิก ในสังคมแล้วอนุมานมานว่า สังคมนั้นมีค่านิยมอย่างไร เช่น ค่านิยมสังคมไทยที่เป็นค่านิยมดั้งเดิม คือ ยึดถือตัวบุคคล ความรักสนุก และยึดทางสายกลาง เป็นต้น
                ลักษณะของค่านิยมที่แท้นั้นจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
                ๑. เป็นค่านิยมที่บุคคลเลือกหรือยอมรับ โดยไม่ได้ถูกบังคับบุคคลมีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกหรือยอมรับค่านิยมใดก็ ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมน่าปฏิบัติ
๒. เป็นค่านิยมที่บุคคลมีโอกาสเลือกจากตัวเลือกหลายๆ ตัว ไม่ใช่เป็นเพราะมีตัวเลือกจำกัดเพียงสิ่งเดียว จึงทำให้ต้องยอมรับโดยปริยาย
๓. เป็นค่านิยมที่ได้รับการกลั่นกรองพิจารณาอย่างรอบคอบจากบุคคลตลอดจนมีการ วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของตัวเลือกหลายๆ ตัว เมื่อเห็นว่าตัวเลือกใดดีที่สุดเหมาะสมที่สุดหรือมีเหตุผลในการสร้างความพอ ใจได้มากที่สุดก็จะเลือกตัวเลือกนั้น
๔. เป็นค่านิยมที่บุคคลยกย่อง เทิดทูนและภูมิใจ
๕. เป็นค่านิยมที่บุคคลสามารถยอมรับอย่างเปิดเผยและพร้อมที่จะสนับสนุนค่านิยมที่ตนยอมรับ
๖. เป็นค่านิยมที่บุคคลยึดถือปฏิบัติจริงไม่ใช่เพียงคำพุดเท่านั้น
๗. เป็นค่านิยมที่บุคคลปฏิบัติอยู่เสมอๆ บ่อยๆ ไม่ใช่ปฏิบัติเป็นครั้งคราว
                จาก ลักษณะข้างต้นอาจกล่าวได้ว่าค่านิยมที่แท้นั้นเป็นค่านิยมที่ผ่านการเลือกมา อย่างดีและเมื่อเลือกแล้วก็ถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยความมั่นใจความ ภูมิใจ
                จาก คำนิยามต่าง ๆ เหล่านี้พอจะสรุปได้ว่าค่านิยมนั้น เป็นความคิดหรือความเชื่อที่บุคคลพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีคุณ ค่า จึงนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน

            อิทธิพลของค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล
                รองศาสตราจารย์ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าวถึงค่านิยมสังคมเมืองและค่านิยมสังคมชนบทของสังคมไทยไว้ค่อนข้าง ชัดเจน โดยแบ่งค่านิยมออกเป็นค่านิยมของคนในสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งลักษณะค่า นิยมทั้งสองลักษณะ จัดได้ว่าเป็นลักษณะของค่านิยมที่ทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อค่านิยมที่มีต่อ พฤติกรรมของบุคคล ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนในตาราง 

ค่านิยมสังคมเมือง





ค่านิยมสังคมชนบท


เชื่อในเรื่องเหตุและผล
ขึ้นอยู่กับเวลา
แข่งขันมาก
นิยมตะวันตก
5. ชอบจัดงานพิธี
ฟุ่มเฟือยหรูหรา
นิยมวัตถุ
ชอบทำอะไรเป็นทางการ
ยกย่องผู้มีอำนาจผู้มีตำแหน่ง
๑๐.วินัย
๑๑. ไม่รักของส่วนรวม
๑๒. พูดมากกว่าทำ
๑๓. ไม่ชอบเห็นใครเหนือกว่า
๑๔. เห็นแก่ตัวไม่เชื่อใจใคร








ยอมรับบุญรับกรรมไม่โต้แย้ง
ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
เชื่อถือโชคลาง
ชอบเสี่ยงโชค
นิยมเครื่องประดับ
นิยมคุณความดี
นิยมพิธีการและการทำบุญเกินกำลัง
ชอบเป็นฝ่ายรับมากกว่าฝ่ายรุก
ทำงานเป็นเล่น ทำเล่นเป็นงาน
๑๐. พึ่งพาอาศัยกัน
๑๑. มีความเป็นส่วนตัวมากเกินไป
๑๒. รักญาติพี่น้อง
๑๓. มีความสันโดษ
๑๔. หวังความสุขชั่วหน้า

ตาราง  แสดงเรื่องค่านิยมของคนเมืองและคนชนบท
                ประเภทของค่านิยม
                ค่านิยมนั้นกล่าวกันโดยทั่วไปว่ามี ๒ ประเภท คือ ค่านิยมส่วนบุคคลและค่านิยมของสังคม
                ค่านิยมส่วนบุคคล ค่านิยมส่วนบุคคลเป็นการตัดสินใจเลือกในสิ่งหรือสถานการณ์ที่ตนต้องการหรือพอใจนั้นถือว่าเป็นค่านิยม (Value) ของ บุคคลนั้น เช่น นายแดง อยากเป็นคนขยันขันแข็งเอาการเอางาน นายแดงก็จะปฏิบัติตามตามพื้นฐานของความคิดของตนเอง เพราะฉะนั้น นายแดงจะมีค่านิยมของความขยันขันแข็งและแสดงความเป็นคนขยันออกมา
                ค่านิยมของสังคม ซึ่ง นักวิชาการได้แสดงทัศนะไว้ต่าง ๆ กันดังนี้ ค่านิยมของสังคม คือ การรวมค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคม กล่าวคือ สมาชิกของสังคมส่วนใหญ่นิยมส่ง หรืออยากจะปฏิบัติตนในสถานการณ์นั้น ๆ อย่างไร สิ่งหรือสถานการณ์นั้น ๆ ก็กลายเป็นค่านิยมของสังคม ของสังคมนั้น ขอยกตัวอย่าง เช่น ในสถานการณ์ที่ผัวเมียตบตีกัน สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมอยากสอดรู้สอดเห็นถึงความเดือดร้อนของคนอื่นจึงได้ไป มุงดู การมุงดูก็เป็นค่านิยมของสังคมนั้น
                ค่านิยมของสังคม หมาย ถึง สิ่งที่ตนสนใจ สิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเห็นหรือกลับกลายมาเป็นสิ่งที่คนถือว่าเป็นสิ่งบังคับ ต้องทำต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่อง และมีความสุขจะได้เห็น ได้ฟัง ได้เป็นเจ้าของ
                ค่านิยมของสังคม หมาย ถึงค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคมกล่าวคือสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่ยอมรับว่า เป็นสิ่งที่ดีงาม หรือควรแก่การปฏิบัติสิ่งหรือสถานการณ์นั้น ๆ ก็จะกลายเป็นค่านิยมของสังคมนั้น ๆ
                ค่านิยมออกเป็น 2 ระดับคือ
                ๑.  ค่านิยมในทางปฏิบัติ (Pragmatic values) เป็น หลักของศีลธรรมที่ตั้งอยู่บนรากฐานที่ว่าตนในสังคมต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดังนั้นค่านิยมจึงประณาม สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม เช่น การคดโกง การทำร้ายกัน และยกย่องพฤติกรรมที่เป้นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ความขยันขันแข็ง ความซื่อสัตย์
                ค่านิยมอุดมคติ (Ideal values) ซึ่ง มีความลึกซึ่งกว่าค่านิยมในทางปฏิบัติ เช่นศาสนาคริสต์สอนว่าให้คนรักเพื่อนบ้านเหมือนกับรักตนเอง ซึ่งน้อยคนที่จะปฏิบัติตามได้ แต่ค่านิยมระดับนี้ก็มีความสำคัญในการทำให้คนเห็นแก่ตัวน้อยลง
                ความสำคัญของค่านิยม
                อาจกล่าว ได้ว่าค่านิยมมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรม ค่านิยมบางอย่างได้สร้างแก่นของวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ค่านิยมเรื่องรักอิสรเสรีของสังคมไทย ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ ทำอะไรตามใจคือไทยแท้เพราะ ฉะนั้นค่านิยมจึงมีความสำคัญมากและมีผลกระทบถึงความเจริญหรือความเสื่อมของ สังคม กล่าวคือ สังคมที่มีค่านิยมที่เหมาะสมและถูกต้อง เช่น ถ้าสังคมใดยืดถือค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ หรือความสามัคคี สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าแน่นอนแต่ในทางกลับกัน ถ้าสังคมใดมีค่านิยมที่ไม่สนับสนุนความเจริญ เช่น ค่านิยมที่เชื่อเรื่องโชคชะตาก็จะก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่กระตือรือร้น หรือเฉื่อยชา ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนา เป็นต้น
                อิทธิพลของค่านิยมต่อตัวบุคคล
                ค่านิยมไม่ว่าจะเป็นของบุคคลหรือค่านิยมของสังคม จะมีอิทธิพลต่อตัวบุคคล ดังนี้ คือ
                ๑. ช่วยให้บุคคลตัดสินใจว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ดีหรือไม่ดี มีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าควรทำหรือไม่ควรทำ
                ๒. ช่วยให้บุคคลในการกำหนดท่าทีของตนต่อเหตุการณ์ที่ตนต้องเผชิญ
                ๓. ช่วยสร้างมาตรฐาน และแบบฉบับจากการประพฤติปฏิบัติของบุคคล
                ๔. มีอิทธิพลเหนือบุคคลในการเลือกคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น และเลือกกิจกรรม
ทางสังคม ซึ่งตนจะต้องเข้าไปร่วมด้วย
                ๕. ช่วยให้บุคคลกำหนดความคิดและแนวทางปฏิบัติ
                ๖. ช่วยเสริมสร้างหลักศีลธรรม ซึ่งบุคคลจะใช้ในการพิจารณา การกระทำของตนอย่างมีเหตุผล
                แง่คิดเกี่ยวกับค่านิยม
                ๑. โดยปกติแล้วบุคคลมักจะมีค่านิยมในเรื่องเดียวกันหรือสิ่งเดียวกัน แตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะแต่ละบุคคลมีความรู้ ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน แต่บุคคลก็อาจจะมีค่านิยมในบางเรื่องตรงกันได้ เรียกว่า ค่านิยมร่วม (shared values) ซึ่งส่วนมากมักได้มาจากอิทธิพลของศาสนา
                ๒. มนุษย์เรามักจะชอบคบหาสมาคมกับบุคคลที่ยืดถือค่านิยมอย่างเดียวกัน
                ๓. ค่านิยมบางอย่างได้กลายมาเป็นกฎหมายเช่น ค่านิยมในเรื่องเสรีภาพก่อให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคล
                ๔. ค่านิยมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กล่าวคือ ค่านิยมบางอย่างอาจเสื่อม
ความ นิยมไป หรืออาจมีค่านิยมใหม่บางอย่างเกิดขึ้นมา เช่น ค่านิยมของกุลสตรีไทย แบบผ้าพับไว้ ปัจจุบันสังคมไทยเริ่มเปลี่ยนเป็นนิยมหญิงไทยที่มีลักษณะคล่องแคล่วว่องไว เหมาะสมกับสภาพของสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
                ๕. ค่านิยมของคนและค่านิยมของสังคมจะกำหนดการตัดสินใจในการเลือกของบุคคล
                ๖. ค่า นิยมบางอย่าง ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลด้วยกัน แต่ค่านิยมบางอย่างเป็นไปในทางตรงกันข้าม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะค่านิยมมีอิทธิพลต่อความประพฤติของบุคคลทั่วไป ถ้าเรายิ่งมีความรู้สึกว่าค่านิยมใดมีความสำคัญต่อเรามาก เราก็มักจะรู้สึกลำเอียงว่าค่านิยมนั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้นและคิดไปว่าค่า นิยมที่ขัดแย้งกับของตนนั้นผิดและไม่ยอมรับ
                ๗. ค่า นิยมของสังคม ไม่จำเป็นว่าต้องมีอยู่ในตัวบุคคลในสังคมนั้นทุกคนไป แต่อาจจะมีอยู่ในสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่เท่านั้น เช่น การยกย่องคนร่ำรวย หรือเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน เป็นต้น

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง


แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมโลก

ความขัดแย้งทางสังคมวัฒนธรรม ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
การขัดแย้งทางวัฒนธรรม (Cultural Conflict)
การ แพร่กระจายวัฒนธรรมและการสังสรรค์ทางวัฒนธรรมอาจสร้างความขัดแย้ง ถ้าสมาชิกในกลุ่มไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน โดยปกติกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และภาษาพูดร่วมกันมักจะไม่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นเมื่อมีการปะทะสังสรรค์ของวัฒนธรรมที่ต่าง กัน  การปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมนี้เกิดจากการแพร่กระจายของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งหรือทั้งสองชุด  ทั้งนี้อาจเกิดจาก
(1) การ อพยพย้ายถิ่นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาสู่อาณาบริเวณที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ หรือวัฒนธรรมอื่นอยู่แล้ว ถ้าการอพยพย้ายถิ่นนี้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นมิตรก็จะเกิดความขัดแย้ง ได้
(2) การ ขยายดินแดนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อเสริมอาณาเขตของตนซึ่งมีผลในการรุกรานกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้รวมทั้งการยกทัพไปสู้รบกันดังเช่นสงครามสมัยโบราณ
(3) การล่าอาณานิคมของสังคมตะวันตก โดยกลุ่มที่มีอำนาจสามารถเข้าไปครอบครองและเผยแพร่วัฒนธรรมของตนด้วย
(4) นอก จากนี้ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอาจเกิดจากการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมโดยการสื่อ สาร ถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน ระบบการศึกษา และเทคโนโลยีต่างๆ
อย่าง ไรก็ตาม กรณีที่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์มีสูงเพราะสังคมวัฒนธรรมขัดแย้ง กัน การปรับรับวัฒนธรรมซึ่งกันและกันไม่เกิดขึ้น  ปัญหา เรื่องความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ เกิดจากการที่แต่ละฝ่ายพยายามรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนและไม่ยอมรับ วัฒนธรรมของสังคมข้างเคียง หรือถ้าความขัดแย้งเกิดจากกรณีของการช่วงชิงอำนาจ ความสัมพันธ์จะอยู่ในลักษณะศัตรูหรือคู่ปรับ เกิดสงครามช่วงชิงพื้นที่หรือผู้คน ข้อมูลในประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นตัวอย่างของความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีสังคมวัฒนธรรมภาษาพูดต่างกันอยู่เป็นประจำ ในกรณีที่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรมรุนแรง อาจเกิดเป็นขบวนการต่อต้าน เช่น ขบวนการแยก ดินแดนหรือขบวนการก่อการร้าย
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมคืออะไร

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม(cultural conflicts) อาจ เป็นคำที่ไม่คุ้นหูสำหรับหลายๆคน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆของความตึงเครียด ความแตกร้าว ความเห็นที่ไม่ตรงกันอันเกิดจากการพบกันของวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน หากการสร้างกลุ่มประชากรซึ่งเป็นมาตรหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน สมัยปัจจุบัน ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างอาศัยเงื่อนไขหลักอย่างหนึ่งคือความเหมือนกันของ วัฒนธรรม ก็จะสามารถแยกกลุ่มประชากรสองกลุ่มได้โดยอัตโนมัติอาศัยความต่างทางวัฒนธรรม เนื่องจากประชากรแต่ละคนจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มที่ตนเองอยู่เข้าไปใน บุคลิกของตนไม่มากก็น้อย ทำให้เป็นธรรมดาที่ระหว่างปัจเจกชนซึ่งอยู่ในกลุ่มประชากรที่ต่างกันมี แนวทางความคิดและการกระทำที่ต่างกัน ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่การติดต่อระหว่างประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง ประเทศที่ยืนหยัดในความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมก็เพิ่มขึ้น ผลก็คือการเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอันเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมขึ้น ครั้งแล้วครั้งเล่านั่นเอง
ปัจจัย หลักที่ทำให้แนวคิดใหม่ที่เรียกว่า " ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม " มีความสำคัญขึ้นโดยฉับพลันคือ ตามที่ได้กล่าวไว้ ความต้องการการพัฒนาที่พร้อมกันของการยืนกรานในความเป็นเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรม และการขยายใหญ่ของการติดต่อระหว่างประเทศ แต่ปัจจัยที่เป็นรูปธรรมกว่านั้น มีสองจุดที่สำคัญคือ
1. ปัจจุบันเวทีของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ครอบคลุมทั่วโลกเป็นครั้งแรก บนหน้าประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์
2. ความ จริงที่ว่าการติดต่อระหว่างประเทศของปัจเจกชนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การติดต่อระหว่างผู้มีวัฒนธรรมต่างกันหลายแบบจึงเกิดขึ้น แต่ ศาสนา ภาษา วิถีพื้นบ้าน ศิลปะ โดยเฉพาะด้านความคิด ก็มีการสืบทอดของวัฒนธรรมที่ต่างกัน เมื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมของผู้อื่นก็แน่นอนว่าจะต้องเกิดความขัดแย้งขึ้น แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง เมื่อก่อนการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดำเนินด้วยองค์กรของรัฐหรือเจ้า หน้าที่ไม่กี่คนเท่านั้น ตอนนี้ การสื่อสารระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด บุคคลนับไม่ถ้วนที่มีกลไกหรือเป้าหมายต่างๆสามารถข้ามพรมแดนได้อย่างค่อน ข้างอิสระขึ้น  เหล่าผู้คนที่เอาวัฒนธรรมที่แตกต่างมาสัมผัสกันก็ย่อมเกิดความขัดแย้งขึ้น อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงก็ว่าได้ แต่ไม่เคยมียุคสมัยใดที่ยอมรับการมองต้นเหตุและกลไกนั้นอย่างชัดเจนและเผชิญ กับมันอย่างฉลาดเท่ายุคสมัยนี้อีกแล้ว ที่จริงแล้วในประเทศเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมได้ แต่ก็ไม่ถูกมองเป็นปัญหาเท่าความขัดแย้งทางวัฒธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากในประเทศ คนหนึ่งคนมีสิ่งที่นับถือหรือเชื่อถืออยู่มากมาย ความนับถือความเชื่อถ้าถูกหักล้าง หรือซับซ้อนขึ้น ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมก็ไม่กลายเป็นเรื่องรุนแรง แต่ทว่า มนุษย์มากมายที่มีชีวิตอยู่ในยุคชาตินิยมนั้น ในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะรู้สึกรุนแรงต่อความเป็นส่วนหนึ่งของชาติหรือเผ่าพันธุ์ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมระหว่างชาติ บางครั้งก็จะแสดงในรูปร่างที่ร้อนแรง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนที่จะมีมนุษย์เกิดขึ้นก็มีความหลากหลายในธรรมชาติเป็นพื้นฐานมาก่อน มนุษย์ก็เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ในที่แต่ละแห่งมนุษย์ก็ย่อมเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน และอยู่ร่วมอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ จึงมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน เรียกว่าเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ กับความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน เพราะว่าชีวิตต้องเกิดขึ้นในที่ต่างๆ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2004 มีประชากรประมาณ 600 ล้านคน เกาะชวา คือเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และ ศาสนา รวมทั้งมีชาวจีนอพยพมาเป็นจำนวนมาก แต่ละประเทศพบว่า มีความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ หลากหลายศาสนา มีทั้งไทย จีน ญวน ลาว เขมร มอญ มาลายู ศาสนาก็มีทั้ง พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกส์
ศาสนาพุทธเป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนไทย ลาว พม่า เวียดนาม ในขณะที่ ศาสนาอิสลามก็เป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนของคนมาเลเซีย อินโดนีเซีย บูรไน และศาสนาคริสต์เป็นวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของคนฟิลิปินส์ ซึ่งหากแบ่งตามสถิติจะได้ดังนี้
บรูไน: อิสลาม (67%) พุทธมหายาน (13%) คริสต์ (10%) ภูตผี และอื่นๆ (10%)
กัมพูชา: พุทธหินยาน (93%) ภูตผี และอื่นๆ (7%)
ติมอร์ตะวันออก: คริสตศาสนา (95%)
อินโดนีเซีย: อิสลาม (81%) คริสต์ พุทธ ฮินดู และอื่นๆ
ลาว: พุทธหินยาน (60%) Animism และอื่นๆ (40%)
มาเลเซีย: อิสลาม (61%) พุทธมหายาน (20%) คริสต์ ฮินดู และอื่นๆ
พม่า: พุทธหินยาน (89%) อิสลาม (4%) คริสต์ (4%) ฮินดู (1%) และ ภูตผี
ฟิลิปปินส์: คริสต์ (92%) อิสลาม (5%) พุทธ และอื่นๆ (3%)
สิงคโปร์: ศาสนาตามประเทศจีน (พุทธมหายาน เต๋า และ ขงจื๊อ) (51%) อิสลาม (15%) คริสต์ (14%) ฮินดู (4%) อื่นๆ (16%)
ไทย: พุทธหินยาน (95%) อิสลาม (3%) ฮินดู คริสต์ และ ฮินดู
เวียดนาม: พุทธมหายาน (50%) ขงจื๊อ และ คริสต์ (50%)
ที่ใดที่มีการเข้าถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมจะมีสันติสุขหากมีการจัดการทางวัฒนธรรมที่ดี แต่ที่ไหนที่มีความขัดแย้งก็เกิดความรุนแรงขึ้น ยกตัวอย่างประเทศพม่าเป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่า ที่อพยพมาอยู่รวมกันที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี ก็เกิดการกระทบกระทั่งขัดแย้งกันมาเรื่อยๆ เคยมีการรวมตัวกันแต่สุดท้ายก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ มีการรวมตัวกันยากมาก มีความขัดแย้งเรื้อรังมาเรื่อยจนถึงบัดนี้ ที่มาเลเซียและอินโดนีเซียเคยมีการทะเลาะกันระหว่างชาวมลายูกับชนเชื้อสายจีน
โลกปัจจุบันกำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "สงครามวัฒนธรรม" (Culture Wars) หรือ "ความขัดแย้งระหว่างอารยธรรม" (The Clash of Civilizations ) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ 2 แบบ ที่กำลังต่อสู้กันอยู่ ความขัดแย้งระหว่างโลกทัศน์ที่แตกต่างทั้งสองนี้ กำลังส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมโลกทั้งมวล รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "การปะทะระหว่างอารยธรรม"ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอคติ และความคลางแคลงใจระหว่างศาสนาและเชื้อชาติ ฮันติงตัน เชื่อว่า "ความ แตกแยกระดับมหาภาคระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และที่มาของความขัดแย้งต่างๆ จะมาจากด้านวัฒนธรรม การปะทะกันระหว่างอารยธรรม จะครอบงำการเมืองโลก ... การปะทะที่สำคัญที่สุดจะเป็นการปะทะกันระหว่างอารยธรรมตะวันตก กับ "อารยธรรม ที่มิใช่ตะวันตก" ซึ่งภาพสะท้อนดังกล่าวนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ด้วยเช่นกัน
การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีสองวิธีคือ
1.การจัดการด้วยวิธีใช้ความรุนแรงและการจัดการด้วยสันติวิธีซึ่งรายละเอียดนั้นมีดังนี้
2. การจัดการด้วยวิธีใช้ความรุนแรง
หาก สังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเข้าถึงความหลากหลายทางธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมจะมีสันติสุข ในขณะเดียวกันหากสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่สามารถจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม และต่างวัฒนธรรมมีความขัดแย้งถือวัฒนธรรมของวัฒนธรรมตนเป็นใหญ่ เยียดหยาม ดูถูกวัฒนธรรมอื่น ก็จะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด ซึ่งสอดกคล้องกับทฤษฎีความรุนแรงในมุมของ ลูอิส โคเซอร์ (Lewis A. Coser) นักสังคมวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ซึ่งมีมุมมองไปในแนวทางทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) และได้เสนอทฤษฎีหน้าที่ในทางสังคมของความรุนแรง (Social Functions of Violence) โคเซอร์ได้เสนอแนวความคิดว่าความรุนแรง (Violence) ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นปัญหาและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาแท้ที่จริงแล้วมี หน้าที่ (Function) ที่สำคัญยิ่งในทุกสังคมนักทฤษฎีในแนวขัดแย้งนี้เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นสิ่งปกติ (Normal) และไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา (Undesirable) แม้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (Radical Change) ก็ตาม
การ ใช้ความรุนแรงในการเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และสำหรับผู้มีอำนาจเหล่านี้ความสำเร็จก็คือ "อำนาจ" ที่มากขึ้นและเด็ดขาด และนี่คือลักษณะการใช้ความรุนแรงของผู้ที่เข้มแข็ง เพื่อให้คนสังคมที่อยู่ในรัฐเดียวกัน พรมแดนเดียวกันถืงแม้จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมยอมรับและปฏิบัติวัฒนธรรม ของผู้มีอำนาจและอาจถึงขั้นปฏิเสธและยกเลิกวัฒนธรรมท้องถิ่นอันนำไปสู่ความ ปึกแผ่นของวัฒนธรรมชาติในขณะเดียวกันวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความหลากหลายใน แต่ละประเทศก็จะใช้ความรุนแรงในฐานะของผู้ที่อ่อนแอ เช่นกันเพื่อต่อสู้วัฒนธรรมของตน เป้าหมายของการใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่กลับไม่ได้เป็นอำนาจ แต่บางครั้งเป็นแค่ การเรียกร้อง (Demand) การประท้วง (Protest) การแสดงความไม่เห็นด้วย (Disagreement) หรือการอยากให้สังคมรับรู้ (Recognition) เรา จะเห็นสิ่งเหล่านนี้ในชนกลุ่มน้อยในแต่ละประเทศ ไม่ว่าภาคใต้ของไทย หรือภาคใต้ของฟิลิปินส์ โรฮิงยาในพม่า กรณีที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นภาคใต้หรือผู้ก่อการนี้ ความรุนแรงที่ถูกใช้โดยรัฐผ่านเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในอดีต ทั้งที่เป็นความรุนแรงแบบที่ใช้กำลัง (Physical Violence) เช่นการจับกุม ข่มขู่ ต่างๆนานา หรือการใช้กำลังผ่านระบบหรือโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม (Structural Violence) เช่น การตรวจค้นแบบไม่มีเหตุผล การแสดงความประพฤติในแนวดูถูกเชื้อชาติหรือศาสนา หรือมองผู้ก่อการหรือผู้ต้องหาไม่ใช้คนไทย ไม่ใช่อินโดนีเซีย ไม่ใช่พม่า ไม่ใช่เวียดนามและอื่นๆ เหล่านี้ล้วนเป็นความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐต่อสังคมโดยรวม และนี่ทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้มีชะตากรรมร่วมกัน ความรู้สึกความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ยังเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่เหตุการณ์กรือเซะ ตากใบหรือการที่ชาวบ้านโดนถล่มด้วยอาวุธสงครามพร้อมความรู้สึกจากชาวบ้านว่า ทหาร ตำรวจเป็นคนทำเพราะชาวบ้านจะเอาอาวุธสงครามมาจากไหนในท่ามกลางทหารและตำรวจ เต็มพื้นที่เกือบทุกตารางนิ้ว หลายๆ ครั้งคนระดับเสนาบดีของรัฐเคยใช้ด้วยถ้อยคำที่ ความรุนแรงและดูถูกคนในพื้นที่ว่าไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐ ความรุนแรงในทางคำพูด (Verbal Violence) ดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังตอกย้ำสะท้อนให้เห็นถึงระยะห่างระหว่างชาวบ้านและรัฐที่นับวันจะยิ่งแย่ ลงอีกด้วย สุดท้ายความรุนแรงในการปราบปรามในอดีตแบบเวี่ยงแห อคติต่อประชาชนในพื้นที่เป็นอีกชนวนที่ทำให้ความรุนแรงนั้นขยายตัว ที่สำคัญความขัดแย้งขยายวงไปสู่กรอบของศาสนาด้วยเพราะรัฐส่วนใหญ่เป็นชาวไทย พุทธและประชาชนส่วนเป็นมลายูมุสลิม และปัจจัยเหล่านี้เอง ก็ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น
การจัดการด้วยสันติวิธี 
ประเทศ ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบภาวะวิกฤต ทั้งทางการเมืองและทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งถ้าคลี่คลายไม่ได้จะนำไปสู่ภาวะวิกฤตทางจิตใจ เศรษฐกิจ และอื่นๆ รวมถึงอาจเกิดการปะทะรุนแรง ถึงขั้น บาดเจ็บ ล้มตาย ทรัพย์สินเสียหาย ฯลฯ กลายเป็น "โศกนาฏกรรม" ที่สร้างรอยร้าวและบาดแผลในดวงจิตของคน "สันติวิธี" เป็นสะพานสู่ทางออกจากวิกฤต "สันติวิธี" จึงน่าจะเป็น "สะพานสู่ทางออก" จาก "วิกฤตความรุนแรงอันเนื่องมาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสังคมไทยและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ในปัจจุบัน
สันติวิธี คือวิธีการจัดการกับความขัดแย้งวิธีหนึ่ง การใช้สันติวิธีมีเหตุผลสำคัญตรงที่ว่า เป็นวิธีการที่น่าจะมีการสูญเสียน้อยที่สุด ทั้งระยะสั้นระยะยาว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ผิดกับการใช้ความรุนแรง ซึ่งทุกฝ่ายอ้างว่าเป็นวิธีการสุดท้าย ซึ่งบางกรณีสามารถบรรลุผล ในระยะสั้นเป็นรูปธรรมชัดเจน แต่หากความขัดแย้งดำรงอยู่เพียงแต่ถูกกดไว้
โอกาส ที่จะเกิดความรุนแรงในระยะยาวย่อมมีอยู่ ส่วนในทางนามธรรม เช่น ความเข้าใจอันดี ความสามัคคีปรองดอง นั้นย่อมเกิดขึ้นได้ยากด้วยวิถีความรุนแรง บางคนมองสันติวิธีในลักษณะปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ เช่น การใช้ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง เพื่อให้รัฐหรือผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือพฤติกรรมบางคนใช้สันติวิธี เพราะความเชื่อว่าจะให้ผลที่ยั่งยืนและเป็นไปตามหลักจริยธรรม หรือ ศาสนธรรม บางคนใช้สันติวิธีตามหลักการบริหารเพื่อลดความขัดแย้ง ไปใส่รูปแบบอื่นที่จะจัดการได้ดีกว่า โดยไม่ใช้ความรุนแรง ลักษณะสำคัญของสันติวิธี คือ ไม่ใช่วิธีที่เฉื่อยชาหรือยอมจำนน หากเป็นวิธีที่ขันแข็งและต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ยุทธวิธีที่เลือกใช้ในบางโอกาส หากเป็นยุทธศาสตร์ที่ปฏิบัติได้อย่าสม่ำเสมอ เป็นสัจธรรมที่น่าเชื่อถือไม่ใช่วิธีที่ดีในเชิงกระบวนการเท่านั้น หากเป็นวิธีที่หวังผลที่กลมกลืนกับวิธีการด้วย
ความขัดแย้งทางสังคม และความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่
ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติมี ๓ ระดับ คือ
ระดับความขัดแย้งในขั้นต้น เป็น ความขัดแย้งเฉพาะหน้า ที่ต้องประเมินสถานการณ์ว่าจะเกิดความรุนแรงหรือไม่ และมีทิศทางอย่างไร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ ทหารสามารถเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์ได้
ระดับความขัดแย้งในเชิงโครงสร้าง เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในระบบต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งต้องแก้ปัญหา  ที่ระบบ  และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดและการดำเนินวิถีชีวิตที่มีความแตก ต่างกัน  ซึ่งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับนี้ต้องอาศัยระยะเวลา และต้องให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติและทุกวัฒนธรรม
ความขัดแย้งของสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติและแนวทางแก้ไข 
- การ ปฏิรูประบบราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการเปิดกว้างให้สามัญชนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างโดยมีชนชั้นกลางเข้าสู่ ระบบราชการมากขึ้น และส่วนหนึ่งของข้าราชการที่มาจากชนชั้นกลางนี้กลายเป็นกลุ่มเรียกร้องให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากการปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างที่   ทุก ฝ่ายคาดหวัง แต่กลับนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการ ปฏิวัติรัฐประหารในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง และเมื่อ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้นำพาประเทศเข้าสู่กระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามแนวทางชาติตะวันตก มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น และมีการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่มาจากนายทุนนอกระบบราชการจำนวนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างอีก ครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมมักจะนำไปสู่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างเสมอ เช่น เดียวกับที่สังคมไทยประสบ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลายครั้งได้ขยายวงกว้างจนนำไปสู่การต่อสู้โดยใช้ ความรุนแรง ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง จนประเทศชาติขาดความมั่นคง ดังเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมาตราบจนถึงปัจจุบัน
- ในห้วงระยะเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตทำให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบการกระจายรายได้ยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจและสังคมระหว่างสังคมเมืองและชนบทอย่างมาก  ทั้ง นี้การพัฒนาและการปฏิรูปในแต่ละครั้งที่ดำเนินการโดยละเลยชาวบ้านในชนบท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยิ่งเพิ่มช่องว่างของความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนให้มีมากขึ้น จนกระทั่งการเมืองไทยในระยะหลังได้มีการดำเนินนโยบายที่กระจายผลประโยชน์ไป สู่ชนบทด้วย "นโยบายประชานิยม" ซึ่งเป็นการเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าให้ความนิยมเนื่องจากได้รับการดูแลอย่างเป็น รูปธรรมชัดเจน โดยที่ประชาชนเหล่านั้นมิได้คำนึงว่าผลประโยชน์ที่ได้รับเป็นเพียงการแก้ ปัญหาเฉพาะหน้าและมิใช่  การพัฒนาที่ยั่งยืนในขณะ ที่ประชาชนในเมืองโดยเฉพาะปัญญาชนเห็นว่า นโยบายดังกล่าวไม่ชอบธรรมเพราะเป็นการนำภาษีจากรายได้ของพวกตนไปให้กับชาว ชนบท จึงต่อต้านแนวนโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งทางความคิดที่ลุกลามนำ ไปสู่การรัฐประหารในปี๒๕๔๙  ในที่สุด
-สังคมไทย มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ แต่แนวคิดในอดีตไม่ให้การยอมรับในความหลากหลายจึงมีการใช้นโยบายผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติเพื่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นไทย  โดยมิได้คำนึงถึงแนวคิดของกลุ่มชนเชื้อชาติต่างๆ ส่งผลให้เกิด ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ซึ่ง เห็นได้ชัดเจนในกรณีพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลในอดีตได้เคยดำเนินนโยบายให้มีการผสมกลมกลืนให้เกิดความเป็นไทย ทำให้ชาวไทยมุสลิมเกิดความรู้สึกขัดแย้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลายดังที่เห็นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันภาครัฐมีการยอมรับในความหลากหลาย และได้ตระหนักแล้วว่าการที่แต่ละเชื้อชาติดำรงอัตลักษณ์เดิมของตนนั้นเป็น แนวทางเชิงบวกเนื่องจาก ความหลากหลายของเชื้อชาติก่อให้เกิดความหลากหลายของวัฒนธรรม และความหลากหลายของภูมิปัญญาซึ่งจะกลายเป็นทางเลือกที่หลากหลายในการแก้ ปัญหาต่างๆในแต่ละพื้นที่
-ปัจจุบันโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สังคมไทยโดยเฉพาะในชนบทรู้ ไม่เท่าทันองค์ความรู้ดังกล่าว อีกทั้งทุนนิยมแบบใหม่กำลังรุกล้ำเข้าสู่ชนบทท้องถิ่นโดยมีการละเมิด ทรัพยากร- ธรรมชาติในพื้นที่ป่า ลุ่มน้ำ ชายฝั่งทะเล ฯลฯ ผ่านอำนาจอนุมัติของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยทรัพยากรเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนชีวิตซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคน ไทยทั้งชาติ จึงเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งแก่สังคมไทย โดยประชาชนในเมืองหรือในศูนย์กลางประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีความรู้แต่ไม่ได้รับ ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอและอาจจะไม่สามารถรวมพลังเพื่อปกป้องสิทธิได้ อีกทั้ง "การถ่วงดุล" อำนาจอธิปไตยของไทย ๓ ด้าน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ยังเข้าไปถ่วงดุลในระดับท้องถิ่นได้ไม่ทั่วถึง  ดังนั้นการถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพด้วยการรวมพลังแสดงสิทธิปกป้องทรัพยากร จึงควรมาจากระดับท้องถิ่นทั้งระดับ  อบต. หรือ อบจ. และที่สำคัญยิ่งคือประชาชนในท้องถิ่น  โดย รัฐต้องให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพื่อให้รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ รวมทั้งต้องทำให้การปกป้องสิทธิของประชาชนในท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้การปกป้องสิทธิจะเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังภาคประชาชน แต่ก็มักนำไปสู่ความขัดแย้งในพื้นที่เสมอ ดังเห็นได้จาก กรณีการปะทะกันระหว่างประชาชนกับตำรวจในการคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา   การประท้วงของคนในชุมชนมาบตาพุด เป็นต้น
- การ แก้ไขหรือบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ควรนำแนวทางสันติวิธีมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา เนื่องจากแนวทางสันติวิธีคำนึงถึงความมั่นคงอย่างสมดุลในทุกมิติ การบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติธรรม  สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ จริยธรรม และความเท่าเทียมเสมอภาค  รวม ถึงความรู้สึกของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นหลักการที่ควรรณรงค์ให้ประชาชนทุกเพศและวัย มีความเข้าใจในแนวทางสันติวิธีและนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน ทุกระดับที่ตนเผชิญ อย่างไรก็ตาม การนำไปปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่รัฐควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ดุลยพินิจตีความโดยขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้อาจจะ สร้างเงื่อนไขใหม่ในการแก้ปัญหาและอาจจะนำความขัดแย้งไปสู่ความรุนแรงของ เหตุการณ์ได้  ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า ในบางสถานการณ์เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถใช้กฎหมายหรือแนวทางสันติวิธีได้ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงและต้องการวิธีแก้ไขที่เด็ดขาด และทันท่วงที  เช่น กรณี ๓ จชต. เป็นต้น
กระบวนทัศน์ (paradigm) ของความมั่นคงแห่งชาติ (National Security) ใน ปัจจุบันอาจจะไม่สามารถนำมาจัดการปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในเชิง โครงสร้างและกระแสโลกาภิวัตน์ได้เช่นในอดีต ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการมองสังคมไทยในมิติของ สังคมเสี่ยง (Risk Society) ที่ มีสมมติฐานคือ ความไม่แน่นอน  สิ่งที่เคยถูกเชื่อว่ามีประโยชน์หรือเป็นโอกาสในอดีต ปัจจุบันกลับถูกพิสูจน์ว่าเป็นโทษหรือเป็นภัยคุกคาม  ประเทศ ส่วนหนึ่งในโลกไม่คำนึงถึงกฎกติกาสากล ทำให้ระบบระหว่างประเทศล้มเหลว สังคมโลกจึงควรพัฒนาระบบพหุภาคีให้มีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยปัญหาส่วนหนึ่งที่ได้รับจากภาวะสังคมเสี่ยงซึ่งเป็นเรื่อง ที่น่ากังวลใจคือความทันสมัยตามกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้สังคมไทยรวมทั้งชาว ชนบทต้องการความเป็นอยู่ที่ดีและทัดเทียมในรูปแบบเดียวกันกับสังคมเมือง โดยมิได้คำนึงถึงรากเหง้าของความเป็นสังคมเกษตรกรรม อู่ ข้าวอู่น้ำของโลก และมีภูมิปัญญามากมายอันมีค่าของบรรพบุรุษ  จึงควรปลุกจิตสำนึกของชาวชนบทให้กลับมาภูมิใจในความเป็นเกษตรกรและปลูก จิตสำนึกของคนในสังคมเมืองให้เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นสังคม เกษตรกรรม รวมทั้งให้ประชาชนชาวไทยตระหนักโดยพร้อมเพรียงกันว่า โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือตัวอย่างของการรับมือกับโลกาภิวัตน์ได้ ดีที่สุดในปัจจุบัน

สรุป

สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม กำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "สงครามวัฒนธรรม" (Culture Wars) หรือ "ความขัดแย้งระหว่างระหว่างอารยธรรม" (The Clash of Civilizations) ซึ่ง เป็นผลมาจากกระแส "การปะทะระหว่างอารยธรรม" ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอคติ และความคลางแคลงใจระหว่างศาสนา เชื้อชาติและวัฒนธรรม และนำมาซึ่งการแตกแยกทางสังคมระหว่างประเทศ และในประเทศ การขัดแย้งกันทางเชื้อชาติ ศาสนา
ดังนั้นการ จัดการสังคมและวัฒนธรรมบนความหลากหลายจะต้องมีเอกภาพของคนในชาติและรัฐของตน ในขณะเดียวกันการใช้สันติวิธีผ่านกระบวนการต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ว่า และการยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเชื้อชาติ